อันตรายปอดอักเสบ





ระบบทางเดินหายใจ


เริ่มจากโพรงจมูก คอ ท่อลม หลอดลมใหญ่ขวาและซ้าย หลอดลมแขนงย่อยต่าง ๆ จนถึงหลอดลมส่วนปลาย ซึ่งมีถุงลมเชื่อมต่ออยู่



ปอด…มีหน้าที่รับก๊าซออกซิเจนจากการหายใจเข้า และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยการหายใจออก มีถุงลมปอดเป็นจุดแลกเปลี่ยนอากาศผ่านทางเส้นเลือด
ความจุอากาศของปอดโดยทั่วไปประมาณ 3 ลิตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ และขนาดของร่างกาย เช่น ผู้ชาย 2.5-4.5 ลิตร ผู้หญิง 2-4 ลิตร เป็นต้น


เนื้อปอด…ประกอบด้วย ถุงลมเล็ก ๆ จำนวนมากและมีเส้นเลือดเชื่อมประสานผ่าน




อาการทั่วไปของปอด

ที่มักพบ เช่น ไอเรื้อรัง มีเสมหะ อ่อนเพลีย เจ็บแน่นหน้าอก หอบ เหนื่อยง่าย จะตรวจพบมีการอุดกั้น ของทางเดินหายใจ หรือปอดขยายตัวไม่ดี ระยะรุนแรงที่ทุกข์ทรมานจะหอบมากจนหน้าเขียวและอาจเสียชีวิตได้จาก การหายใจล้มเหลว









 เรายังต้องเผชิญกับ โควิด -19 

   
ฝุ่น PM2.5 ทำร้ายเรา


ภัยจากการสูบบุหรี่ 















☑️หายใจโล่ง
☑️ขับเสมหะ
☑️ภูมิคุ้มกันแข็งแรง
☑️ปอดแข็งแรง
☑️หายใจเต็มปอด
☑️ลดความเสี่ยงมะเร็งปอด
☑️ขับสารพิษ
☑️ลดการอักเสบของปอด
☑️ยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรค
☑️Better Blood Circulation





















ผลกระทบต่อปอด จากเชื้อไวรัสโควิด -19

ส่วนมากการเสียชีวิต จากโรค Covid-19 จะมาจากการที่ผู้ป่วยมี อาการปอดอักเสบ”
COVID-19 เข้าไปทำลายปอดจนเกิดการอักเสบ ปอดจะมีกลไกการขจัดสิ่งแปลกปลอมเข้าร่างกาย  ด้วยการสร้างเสลด หรือเสมหะอยู่แล้ว แต่ถ้ามีปริมาณมาก มีการอักเสบมาก ทำให้สารคัดหลั่งพวกนี้มีความเหนียวข้นขึ้น มันก็จะทำให้เป็นตัวกั้นระหว่างลม แทนที่ลมจะผ่านทะลุเข้าง่ายๆ กับเนื้อเยื่อ หรือ Membrane ก็จะทะลุยากขึ้น ทำให้ออกซิเจนผ่านไปไม่เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดการปัดค่อนข้างยาก อาการ คนไข้ COVID-19 ไอแห้งๆ ไม่มีเสลด เป็นเพราะมันมีความเหนียวของสารคัดหลั่ง



PM 2.5 คืออะไร และทำไมจึงสามารถก่อมะเร็ง
ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน คือ มลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด (5 ไมครอน) ดังนั้นฝุ่นพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้ ฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลี ฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก

ผลกระทบต่อปอด จาก ฝุ่น PM 2.5

เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวมากมาย 

รายงานธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษในอากาศก่อนวัยอันควรมากถึง 50,000 ราย
เด็ก คนสูงวัยและกลุ่มประชากรเสี่ยงในสังคมได้รับผลกระทบมากที่สุด
เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง

สำหรับก๊าซโอโซนเป็นสารระคายเคืองปอด ทำให้ปอดติดเชื้อง่าย จึงเป็นปัจจัยร่วมอันก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง


องค์การอนามัยโลก กำหนดให้ PM 2.5 อยู่ในกลุ่ม 1ของสารก่อมะเร็ง

ตั้งแต่ ปี 2556 เป็นสาเหตุให้ ใน ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร



ผลกระทบต่อปอด จากไฟไหม้ป่า
การเผาไหม้ทำให้เกิดเขม่าเป็นจำนวนมาก ทั้งเขม่าขนาดใหญ่ และเขม่าขนาดเล็กที่เทียบเท่าได้กับฝุ่น PM10 และฝุ่น PM2.5 เขม่าสามารถลอยไปไกลจากจุดที่เกิดไฟไหม้ ได้หลายร้อยกิโลเมตร และสามารถลอยตัวในอากาศได้นานนับเดือน
ผลกระทบทางสุขภาพจากไฟป่า มีทั้งที่ เห็นผลทันที และจะเห็นผลก็ต่อเมื่อผ่านไปแล้วหลายสิบปี
ก่อให้เกิดสารที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่าง คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) ฟอร์มาลดีไฮด์ อะโครเลอีน และเบนซีน ซึ่งสารเหล่านี้จะลอยไปในอากาศพร้อมกับควันที่เกิดจากการเผาไหม้ และก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อมนุษย์ด้วยกัน
ควันและฝุ่นจากการเกิดไฟป่าส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ด้วยทางได้ระบบทางเดินหายใจ อย่างฝุ่น pm 2.5 ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้
1.1 มะเร็งปอด 
1.2 โรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
1.3 โรคหลอดเลือดในสมองตีบ
1.4 โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืดกำเริบ




บุหรี่เผาปอด (Tobacco burns your lungs)


       “ปอด” เป็นด่านแรกที่ได้รับสารพิษจากควันบุหรี่มากที่สุดเมื่อเทียบกับอวัยวะอื่นๆ โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ครึ่งหนึ่งเกิดจากโรคปอด คนไทยที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่พบเป็นมะเร็งปอด หรือถุงลมโป่งพอง หรือปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นการทำลายสุขภาพทั้งผู้สูบและผู้อยู่ใกล้ชิดที่สูดควันบุหรี่เข้าไปเพราะควันบุหรี่มีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาทิ

      "ทาร์" ตัวการทำลายปอด เมื่อสูบบุหรี่สารทาร์ในบุหรี่จะจับอยู่ที่ปอด และรวมตัวกับฝุ่นละอองที่สูดเข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคือง อันเป็นสาเหตุของการไอก่อให้เกิดมะเร็งปอดและโรคถุงลมโป่งพอง

     "ไนโตรเจนไดออกไซด์" สาเหตุของโรคถุงลมปอดโป่งพอง โดยจะไปทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม


นอกจากนี้นิโคตินและสารพิษชนิดอื่นๆในควันบุหรี่ยังทำให้เกิดเป็นวัณโรคปอดและโรคร้ายแรงอีกหลายโรค อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ และโรคมะเร็งอีกหลายชนิดด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

ดีพอต ปกป้องปอด บำรุงปอด

ท่าบริหารกล้ามเนื้อ คอ