กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง

กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ปล่อยไว้ไม่รักษา...อีก 3 โรคนี้จะตามมาแน่นอน

กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง Trigger point

ปวดคอ ปวดบ่าไหล่ ปวดหลัง บางครั้งปวดจนแทบขยับเขยื้อนร่างกายแทบไม่ได้  นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณมีอาการของกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รักษา ก็อาจนำไปสู่โรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว
 ซึ่งเมื่อมีการอักเสบของกล้ามเนื้อเกิดขึ้น ก็จะมีจุด “Trigger point” หรือ “จุดกดเจ็บ” เรียกว่ากดตรงที่มีปัญหาปุ๊บ เจ็บจี๊ดปั๊บ

แม้จะดูเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษาให้หายเป็นปกติ อาจทำให้เราต้องเผชิญกับโรคเหล่านี้



กลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม








1. กลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม ภัยร้ายใกล้ตัว
ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง
โดยไม่ขยับ ผ่อนคลายหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง เกิดจากกล้ามเนื้อหดเกร็งตัวสะสมต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน

จากการปวดอาจกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง หรือมีอาการรุนแรงมาก ทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือเกิดกระดูกทับเส้นประสาทได้ รวมไปถึงอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง ส่วนอาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย เช่นปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งอักเสบ นิ้วล็อก เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ เป็นต้น

อาการของออฟฟิศซินโดรม

➡️ ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วยมีลักษณะอาการปวดล้าๆ ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยเพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก

➡️ อาการของระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งพบร่วมได้ เช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ ซีด ขนลุก เหงื่อออก ตามบริเวณที่ปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่า

➡️ อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

โรคนี้น่ากลัวตรงที่หากไม่รีบดูแลและรักษา อาจเป็นสะพานพาคุณไปสู่โรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น


กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน

2. กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (Myocarditis) อาจเสียชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว
อาการแรกเริ่มของโรคนี้เหมือนกับไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องเสีย อาเจียน อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นช้า บางคนหายใจลำบาก หมดสติ ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจทำให้เสียชีวิตฉับพลันได้ ดังนั้นถ้าไม่รีบเช็คร่างกายและรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้ในระยะยาว

โรคนี้ยากต่อการวินิจฉัย ต้องผ่านหลายกระบวนการทั้งการตรวจกราฟไฟฟ้าหัวใจ (ECG -electrocardiogram) เอ็กซเรย์ปอด ผลการตรวจเลือดกล้ามเนื้อหัวใจ การตรวจหัวใจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยเครื่องแม่เหล็กหัวใจ (Cardiac magnetic resonance imaging) และสุดท้ายคือการตรวจหาการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจโดยการตัดตัวอย่างกล้ามเนื้อหัวใจไปตรวจสภาวะการอักเสบ (Endomyocardial biopsy)



โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว

3. โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว
อาการของโรคนี้เริ่มตั้งแต่การครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกอ่อนแรงยกแขนไม่ค่อยขึ้น บางคนที่มีอาการรุนแรงจนไม่สามารถลุกขึ้นจากเตียงได้จากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง กลืนอาหารไม่ได้ หายใจลำบาก อาจร้ายแรงจนถึงขั้นระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเพราะกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจเกิดการอักเสบ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัวเกิดจากความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

การวินิจฉัยโรคนี้มีหลายขั้นตอนเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ทั้งการดูประวัติและการตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ และการตัดตรวจชิ้นเนื้อของกล้ามเนื้อ ซึ่งการตรวจเลือดยังใช้ติดตามการรักษาโรคนี้อีกด้วย



ถ้าเริ่มสงสัยว่าตัวเองกำลังมีอาการอย่างที่เกริ่นไป ก็อย่าชะล่าใจ ให้รีบรักษาอย่างถูกวิธีให้เร็วที่สุดจะดีกว่า เพราะความล่าช้าจากความคิดว่า ไม่เป็นไร อาจนำหายนะมาสู่ร่างกายของคุณได้

ในการฟื้นฟูแพทย์ทางเลือกดูแลที่ปัจจัยพื้นฐาน ร่วมไปกับการบำบัดอาการต้านโรคด้วยสารสกัดนวัตกรรมระดับชีวโมเลกุลการเสริมโภชนาการเพื่อกระตุ้นเร่งกระบวนการซ่อมแซม ย่อมทำให้ผลการฟื้นฟูมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยั่งยืน





















เพื่อป้องกันมิจฉาชีพแอบอ้างปรึกษา
ผู้เชี่ยวชาญที่ 2 ช่องทางด้านล่างนี้


                             
 

มีโปรโมชั่น








การฟื้นฟูสำหรับคนที่มีอาการเรื้อรัง 6 เดือนขึ้นไป
แนะนำทานต่อเนือง 1-3 เดือนเพื่อการเห็นผลที่ชัดเจน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

ดีพอต ปกป้องปอด บำรุงปอด

ท่าบริหารกล้ามเนื้อ คอ