หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


กระดูกสันหลัง มีหน้าที่ปกป้องแกนของสันหลังและช่วยพยุงร่างกายให้ตั้งตรง มีลักษณะเป็นปล้องต่อกันตั้งแต่คอจนไปถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก โรคกระดูกสันหลังเป็นโรคที่พบได้บ่อยเกิดขึ้นได้กับทุกวัย เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน  

กระดูกสันหลังมีทั้งหมด 26 ชิ้นประกอบด้วย

  • กระดูกคอ (Cervical Bone) 7 ชิ้น
  • กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic Bone) 12 ชิ้น
  • กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumber Bone) 5 ชิ้น
  • กระดูกสันหลังส่วนกระเบนหน็บ (Sacral) 1 ชิ้น
  • กระดูกก้นกบ (Coccygeal) 1 ชิ้น

กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น

กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) เป็นอาการที่กระดูก หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็น กระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพ ส่งผลให้กระดูกสันหลังขาดความยืดหยุ่นและติดแข็งมากขึ้น กระดูกสันหลังเสื่อมมักเกิดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical Spine) กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic Spine) และกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว (Low Back) แต่ที่พบได้มากที่สุดคือบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอและบั้นเอว กระดูกสันหลังเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วโรคนี้พบได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่านั้นมากขึ้น หากความสามารถในการเคลื่อนไหวเริ่มผิดปกติหรือมีปัญหา มือ แขน เท้า และขามีอาการชาและอ่อนแรง 


สัญญาณเตือนหมอนรอกระดูกเสื่อม
อาการของกระดูกสันหลังเสื่อม

อาการของกระดูกสันหลังเสื่อมจะปรากฎอาการปวดคอหรือปวดหลังแบบเป็น ๆ หาย แต่ผู้ป่วยบางรายอาจประสบกับอาการปวดเรื้อรัง หรือในบางครั้งอาการปวดอาจจะรุนแรงขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง อาการอื่น ๆ ของกระดูกสันหลังเสื่อมมีดังนี้

✦ปวดคอ
✦ปวดบั้นเอว
✦กระดูกสันหลังติดแข็งและขยับตัวลำบาก
✦มือ แขน เท้า หรือขา ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างมีอาการชา อ่อนแรง หรือ เป็นเหน็บ
✦ปวดศีรษะในบางครั้ง
✦กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ค่อยอยู่
✦ในกรณีที่มีการกดเบียดเส้นประสาทรุนแรง จะทำให้เดินลำบาก เดินแล้วไม่สมดุล ไม่มั่นคงเหมือนจะหกล้ม โดยเฉพาะเวลาขึ้นบันได


    เส้นประสาทไขสันหลัง 31 เส้นคู่


    ในการฟื้นฟูแพทย์ทางเลือก ฟื้นฟูที่ระดับเซลส์ เลี่ยงการผ่าตัด
    ด้วยสารสกัดธรรมชาติผ่านนวัตกรรม

    นวัตกรรมสารสกัดธรรมชาติระดับชีวโมเลกุล คือการเสริมโภชนาการ เพื่อกระตุ้นเร่งกระบวนการซ่อมแซม ดูแลที่ปัจจัยพื้นฐานต้นเหตุ ยับยั้ง ต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เซลส์ แข็งแรงและซ่อมแซมตัวเองได้




    กระดูกสันหลังเสื่อม


    หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

    หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทชาร้าวลงขา

    หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท









     **คำแนะนำ ควรทานต่อเนื่อง 3-6 เดือน เพื่อการเห็นผลที่ชัดเจน และยั่งยืน





    มีจัดส่งต่างประเทศ








    โรคกระดูกสันหลังเสื่อมคืออะไร  มีสาเหตุจากอะไร
         
    เมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกสันหลังเหี่ยวและยุบตัวลง กระดูกสันหลังจึงหลวม กล้ามเนื้อหลังต้องออกแรงเกร็งมากขึ้นเพื่อไม่ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนผิดปกติ เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อนานๆ จึงทำให้มีอาการปวดหลัง กระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อม นอกจากนี้เพื่อรับมือกับความหลวมของข้อกระดูกสันหลัง ร่างกายจะสร้างกระดูกงอกที่ข้อกระดูกสันหลัง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของกระดูกสันหลัง กระดูกงอกนี้เองเป็นที่มาของคำว่า “กระดูกหลังเสื่อม” กรณีที่พบได้บ่อย คือ

    - เมื่อกระดูกงอกออกจากข้อกระดูกสันหลัง อาจกดทับเส้นประสาทที่เรียกกันว่า “โรคกระดูกทับเส้น” หากเป็นกระดูกหลังเสื่อม อาจกดทับเส้นประสาทขา ทำให้มีอาการปวดหลังร้าวไปที่ขา และอาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงขาร่วมด้วยได้
    - เมื่อกระดูกงอกเข้าด้านในโพรงไขสันหลัง จะทำให้โพรงไขสันหลังตีบแคบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดน่องหรือปวดขาทั้งสองข้าง หลังจากเริ่มเดินได้ระยะทางไม่มาก ต้องนั่งพักอาการจึงจะดีขึ้น
       
    นอกจากสาเหตุที่พบได้บ่อย คือ ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมตามวัยแล้ว สาเหตุอื่นๆ ของ กระดูกสันหลังเสื่อมอาจเกิดจากโรคติดเชื้อกระดูกสันหลัง หรือเนื้องอก หรือความผิดปกติอื่น ๆ ของกระดูกสันหลังได้ด้วย

    การรักษากระดูกสันหลังเสื่อม

    หากพบว่ามีอาการ ผู้ป่วยสามารถรักษาตนเองในเบื้องต้นได้ ยกตัวอย่างเช่น การประคบร้อนหรือประคบเย็นบริเวณที่ปวด และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้นได้เช่นกัน หากยังไม่ดีขึ้น อาจใช้ยาช่วยแต่ยาบางชนิดอาจส่งผลต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด ความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคหัวใจหรือผู้ที่เคยมีแผลในกระเพาะอาหาร ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ได้ หรือหากรักษาด้วยยาไม่ได้ผล แนะนำให้ลองวิธีอื่นเช่นการทำกายภาพบำบัด การฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลัง หรือแม้แต่การผ่าตัด แต่การผ่าตัดเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง เพราะมีผลข้างเคียงในหลาย ๆ ด้าน ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน วิธีการรักษาต่างๆ มีดังนี้


    • รักษาด้วยยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: 
    • NSAIDs) ซึ่งเป็นยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดต่ออาการกระดูกสันหลังเสื่อม และยาทั่วไปที่ใช้กันได้แก่ ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และนาพรอกเซน (Naproxen)
    • ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นยาที่ใช้ลดการปวด หาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ แต่หากไม่ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้องอาจส่งผลเสียต่อตับได้
    • รักษาด้วยยาตามใบสั่งแพทย์
    • การทำกายภาพบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวและความแข็งแรง บางกรณีนักกายภาพบำบัดอาจใช้วิธียืดกระดูกสันหลังที่กดทับเส้นประสาท ให้มีช่องระหว่างกระดูกสันหลังมากขึ้น เพื่อช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยลง
    • การฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลังช่วยลดอาการปวดและแผลที่อักเสบบริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง
    • การผ่าตัดมีหลายประเภท เช่น การผ่าตัดเชื่อมข้อต่อกระดูกสันหลังหรือการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกกสันหลังเทียม แพทย์มักแนะนำวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทที่รุนแรง เช่น ผู้ป่วยมีอาการแสดงออกของเส้นประสาทถูกกดทับได้แก่ กล้ามเนื้อขาลีบ ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือระบบควบคุมการขับถ่ายสูญเสียไป นอกจากนี้ การผ่าตัดจะถูกนำมาพิจารณาก็ต่อเมื่อการรักษาโดยวิธีอื่น ๆ นั้นใช้ไม่ได้ผล ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง ทั้งนี้การผ่าตัดอาจจะช่วยป้องกันอาการไม่ให้แย่ลง แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
    ภาวะแทรกซ้อนของกระดูกสันหลังเสื่อม

    เมื่อกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น


    • การกดทับไขสันหลังบริเวณคอ
    • แผลกดทับ
    • ปอดติดเชื้อเป็น ๆ หาย ๆ
    • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็น ๆ หาย ๆ
    • อัมพาตครึ่งล่าง
    • อัมพาตแขนขาสองข้าง

    กระดูกสันหลังบั้นเอวเสื่อมอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

    เมื่อช่องไขสันหลัง (Neuroforamen) ลดลงเหลือน้อยกว่า 30% จากปกติจะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการที่กระดูกสันหลังงอกออกมากดทับเส้นประสาท ที่แย่กว่านั้นคืออาการโพรงกระดูกสันหลังตีบและอาการหลอดเลือดแดงเอออร์ตาโป่งพองอาจเกิดขึ้นได้ และยังมีภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลให้กระดูกสันหลังเอวข้อที่ 4 กดทับลำไส้เล็กตอนต้นอีกด้วย

    ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดกระดูกสันหลังเสื่อม มีดังนี้


    • อาการแทรกซ้อนจากการใช้ยาชา ซึ่งมีโอกาสได้เกิดขึ้นได้น้อยมาก เช่น หัวใจวาย มีลิ่มเลือดในปอด (Pulmonary Embolism) หรืออาการแพ้อย่างรุนแรง
    • อาการแผลติดเชื้อหลังการผ่าตัด อาการนี้ไม่ค่อยร้ายแรงและรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
    • เส้นประสาทถูกทำลาย ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดขึ้น แต่ผลข้างเคียงนี้ก็ส่งผลให้ร่างกายไร้ความรู้สึกหรือเป็นเหน็บชาแบบถาวรได้
    • อัมพาต อาจเกิดขึ้นได้หากเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทไขสันหลังถูกทำลายหรือมีเลือดออกในช่องไขสันหลังหลังจากการผ่าตัด






    ความคิดเห็น

    โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

    กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

    ดีพอต ปกป้องปอด บำรุงปอด

    ท่าบริหารกล้ามเนื้อ คอ